Postgraduate Use of English at Dhurakij Pundit University/MBA Roundtable/Part 2

MBA Roundtable: Part 2 edit

Janpha:

  • ประเด็นต่อมาซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวข้องกับ คือ ขอไมโครโฟนนิดนึง ประเด็นที่เกี่ยวกัน เกี่ยวสัมพันธ์ก็คือเรื่องของไม่รู้ว่าศัพท์ตัวนี้จะเป็นที่ใช้กันมากหรือเปล่า แต่ว่าในงานวิจัยของผมพูดถึง อัตลักษณ์ หรือ Identify อัตลักษณ์มันไม่เกี่ยวอะไรกับภาษาอังกฤษ คำว่าอัตลักษณ์เนี่ยมันหมายถึง การเรียนรู้ตัวเองของเรา ว่าเรามองตัวเองว่าเป็นยังไง การที่เรามองตัวเองว่าเป็นยังไงหรือเป็นใครเนี่ย มันก็เป็นมาจากหลายสาเหตุ อาจจะเป็นจากประสบการณ์ของเราเองหรือว่ามุมมองที่คนอื่นมองเรา ถ้าเกิดว่าเราเรียนบัณฑิตศึกษาหรือว่าผู้ที่เรียนจบปริญญาโทไปแล้วเนี่ย ทางด้านบริหาธุรกิจ สังคมเค้ามองเรายังไง นี่ก็เป็นส่วนกำหนดอัตลักษณ์ของเราด้วยนะ ในความคิดผมสังคมแทบจะมองว่า คุณต้องรู้ภาษาอังกฤษนะ ภาษาอังกฤษคุณน่าจะดี คุณเรียนจบปริญญาโทแล้วนี่คุณเรียน MBA ทีนี้ อัตลักษณ์นี้มันเกี่ยวกับเราไหม เรารับรู้อัตลักษณ์ตัวเองยังไงในฐานะเฉพาะตอนนี้เนี้ย ในฐานะที่เราเรียนบัณฑิตศึกษาแล้วมันเกี่ยวยังไงกับภาษาอังกฤษ อยากให้ทุกคนลองพูดถึง อย่างผมเนี่ยก็แน่นอนเนี่ยเป็นอาจารย์ อย่างสมมิตว่าเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษอย่างผม อัตลักษณ์ของพวกผมก็แน่นอนล่ะ You have to know English well, You have to know using which word. มันไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่นแน่ๆ ชีวิตผมนอกจากนั้นอย่างหนึ่งคือต้องใช้ภาษาไทยถูกต้องและเหมาะสม ภาษาไทยต้องดีภาษาอังกฤษต้องเยี่ยม คำว่าภาษาโดยรวม ความสามารถทางภาษาเวลาเราพูดถึงความสามารถทางภาษาในทางวิชาการเราจะหมายถึงภาษาไทย รู้บาลี สันสกฤต ภาษาอังกฤษ สามารถใช้ได้ และก็ใช้ในการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเขียนวิชาการจะเน้นที่ตรงนี้ ในการพูดในที่ประชุมเป็นทางการ ทีนี้อยากให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นตรงนี้ว่า อัตลักษณ์ของเราเองกับความสามารถภาษาอังกฤษมันเป็นยังไง มองตัวเองยังไง เริ่มจากใครดี คุณนพวันก็แล้วกัน

NPW

  • Is the term means how we see ourselves? I'm still not clear about the term.

Janpha:

  • How you perceive yourself, yes.

NPW:

  • My answer to this is related to what I have just said.

Janpha:

  • Please expaln.

NPW:'

  • ภาพลักษณ์หรือความเป็นตัวเองในด้านภาษาอังกฤษกับระดับบัณฑิตศึกษาเนี่ยอะค่ะ มันเป็นตัวบ่งชี้ ชี้วัดอย่างหนึ่งนะค่ะ อาจารย์ว่าสังคมในประเทศไทยเอาง่ายๆ ไม่ต้องไปถึงต่างประเทศ มหาลัยมีกี่แห่ง MBA มีกี่ที่ บัณฑิต MBA มีกี่ที่ในมหาลัย เพราะฉะนั้นมันทำให้หนูมองลึกลงไปว่า มาจากมหาลัยนี้ คนนี้มาจาก MBA จากนี้ๆ แล้วแบบว่ามันคือแสดงความแตกต่างอะค่ะอาจารย์ อันนี้มันแสดงความแตกต่างอะค่ะ

Janpha:

  • แตกต่างคือว่า ภาษาอังกฤษมันจะแตกต่างกัน

NPW:

  • ไม่ใช่ค่ะ ภาษาอังกฤษไม่แตกต่าง แต่ว่าความรู้ของผู้เรียนบัณฑิตศึกษาเนี่ยมันไม่เหมือนกันอะค่ะ หนูไม่ได้มองในภาพของหนู แต่หนูมองในภาพ มธบ. ของเรากับที่อื่นๆอย่างเนี้ยอะค่ะ อย่างเช่นหนูมีเพื่อนอยู่ที่อื่นอะค่ะ เค้าเรียนเหมือนหนูเนี่ย เค้าเรียนมาร์เกตติ้งเหมือนกัน แต่ก็เคยได้พูดคุยกันว่าเป็นยังไง เรียนอะไร คือเค้าพูดไม่ได้อ่านไม่ออกเลยอย่างเงี้ยค่ะอาจารย์ แต่เค้าก็จบแต่เรายังอยู่ ซึ่งมันทำให้หนูย้อนกลับมามองคิด มองกลับมาว่ามาตราฐานของแต่ละที่มันไม่เหมือนกันค่ะ เพราะฉะนั้นหนูก็เลยมองภาพลักษณ์ อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตว่าค่อนข้างจะสูง แล้วก็ผู้เรียนก็จะต้องมีความรู้จริงๆในการเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็น ฟัง พูด อ่าน เขียน แบบต่างๆอะค่ะ มองในมุมแบบเนี้ยค่ะ กว้างๆแต่เพื่อนๆท่านอื่นๆอาจจะมีมุมของตัวเอง

Janpha:

  • ใครมีอะไรจะเพิ่มเติมจากตรงนี้ไหม อัตลักษณ์เนี้ยอาจจะไม่ได้พูดบ่อยนะอัตลักณ์นอกจากในสำนึก

NPW:

  • ถ้าสำหรับในความคิดของหนูนะค่ะ คิดว่าเอ่อ สมมติในกรณีที่จบ MBA นี่คือคนที่จบ MBA มาเนี่ยคนข้างนอกอาจไม่ได้คาดหวังว่าภาษาอังกฤษของคุณจะต้องดีมาก เพราะว่าคุณจบในประเทศ แต่ว่าสิ่งหนึ่งที่เค้าคาดหวังก็คือความรู้ที่คุณมีทางด้านธุรกิจหรือว่ายังไงค่ะ ความสามารถที่คุณจะนำความรู้ที่ได้มาเนี่ย เอาไปใช้กับงานที่คุณทำเนี่ยได้มากน้อยแค่ไหนมากกว่า แต่ตัวภาษาอังกฤษเหมือนเป็นส่วนประกอบใครที่ได้ก็ อย่างที่คุณวัชระบอกก็คือถือว่าเป็นประโยชน์กับตัวเอง แต่ถ้าใครไม่ได้จริงๆเนี่ยก็ไม่ถึงกับลำบากอะค่ะ ถ้าไม่มี แต่ว่าถ้าจบ MBA มาก็น่าจะเป็นทางด้านนั้นมากกว่า ความรู้ทางด้านธุรกิจ

Janpha

  • You mean business knowledge in your academic field?

PJN:

  • That's right. But the emphasis is not on the mastery of English. But you you got a degree say MBA from overseas, you get two, business knowledge and the English language.

Janpha:

  • Thank you PJN for your opinion.

Janpha:

  • WCR, how about you?

WCR:

  • Is identity about my role and how I see it?

Janpha:

  • It's about how you see yourself as a member of the society and how the society perceoive you.

วัชระ:

  • ก็คือผมคิดว่า ถ้ามองจากวันนี้คือโลกมันเปิดกว้างและทีนี้เวลามีการ Seminar หรือการประชุมเนี้ย เรา join กันระหว่างคนไทยและคนชาวต่างชาติ ทีเนี้ยก็คือต้องรู้ในตอนนี้อะครับ ผมว่าก็คือจะได้บ้าง คือไม่ได้ทั้งหมด

ดร.จันทร์พา:

  • เราต้องรู้ภาษาอังกฤษบ้างใช่ไหม

WCR:

  • ครับ รู้บ้างก็ยังดี

ดร.จันทร์พา:

  • คือถ้าไม่รู้อะไรเลย มันก็ลำบากเหมือนกัน

WCR:

  • ใช่ครับ

Janpha:

  • คือถ้าไม่รู้อะไรเลย มันก็ลำบากเหมือนกัน

WCR:

  • ใช่ครับ ก็คือดีกว่านั่งแบบเอ๋อๆ ไม่รู้อะไรเลยครับ

Janpha:

  • อย่างน้อยที่สุดถ้าเป็นบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษา ภาษาอังกฤษควรจะได้บ้าง คือถ้าไม่ได้เลยก็จะมีปัญหาเหมือนกันก็จะถูกมองอีกแบบหนึ่ง ก็เหมือนกับที่คุณนพวันได้พูดถึง เพื่อนที่ไม่รู้อะไรเลย น่าจะถูก เรายังมองเค้าเลยใช่ไหม

NPW

  • Yes.

Janpha:

  • เรายังมองเค้าเลย เค้าก็มองเราเหมือนกันใช่ไหม คือไปแบบไม่รู้อะไรเลย พูด Human Capital ยังเฉยๆ ยังถามว่าอะไรนะ อันนี้ก็มีปัญหาแน่ๆใช่ไหม

NPW:

  • คือมันน่าจะพูดภาษาเดียวกันได้ เพราะว่าเรียน MBA เหมือนกัน Marketing เหมือนกัน ถามอะไรก็ควรจะตอบได้ พอจะรู้เรื่องนั้นบ้าง แต่แบบ เออ…อะไรอย่างเนี่ยก็เลย คือ โอเคค่ะ หนูก็เลยแก้ปัญหาว่าสงสัยเรียนมาคนละสำนัก

Janpha:

  • มีเพิ่มเติมไหม ผมอยากเพิ่มประเด็นไปอีกนิดนึง ก็คือในหัวข้อเกี่ยวกับเรื่องของอัตลักษณ์เนี่ย ในการศึกษาในบัณฑิตศึกษาตามความคิดเนี่ยนะ มันเป็นการศึกษาที่ระดับขั้นสูง การใช้ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งจำเป็น คืออยากจะให้ทุกคนลองนึกมองในสาขาของคุณ คำว่า สำนักวิชาการของคุณในภาษาอังกฤษ ถ้าเรามองในความหมายกว้างเนี่ย เราถือว่าเป็นส่วนหนึ่งชุมชนวิชาการ ชุมชนวิชาการในที่นี้อย่างเช่น ชุมชนนักวิชาการอาจจะหมายถึง อาจารย์ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญในสาชาที่อาจอยู่ในภาคเอกชน อย่างเช่น นักวิชาการอิสระแล้วก็นักศึกษา ส่วนหนึ่งที่จบไปได้รองรับเป็นอาจารย์หลายคนอยู่ในแวดวงวิชาการหลายคน ทำงานในฝ่ายวิชาการด้วยซ้ำ เรามองตัวเราเองยังไง ว่าเป็นนักวิชาการหรือเป็นแค่ส่วนหนึ่งของนักวิชาการ หรือถึงว่าตัวเองเป็นนักวิชาการในอนาคต ลองให้พูดถึงในแง่มุมนี้ อย่างผมเนี่ยก็ยืนยันว่าผมเป็นนักวิชาการ ผมเป็นนักวิชาการ จบปริญญาเอกมาสอนหนังสืออยู่ในมหาลัยมันก็เป็นนักวิชาการแน่ๆ มันเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เรามองตัวเองว่าเป็นนักวิชาการหรือเปล่า หรือมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนวิชาการที่เราอยู่ เรามองเห็นความเป็นชุมชนที่คุณนพวันทางด้าน Marketing เราก็จะมีว่าใครเป็นกูรู Marketing พวกนี้ก็คือนักวิชาการแล้วก็อาจารย์ ใครเก่งเป็นนักวิชาการสอนเรา ตัวเราเป็น Budding Academic หรือเปล่า เป็นมือใหม่หรือเปล่า อยากจะให้แสดงความคิดเห็น

WCR:

  • ในส่วนตัวผมนะครับผมว่า ถ้าเป็นตัวผมเอง ผมคิดว่าเป็น ณ ตอนนี้คือชุมชนนักวิชาการมากกว่า

Janpha:

  • อยู่ในชุมชน

WCR: ครับ ชุมชนวิชาการ คือนำหลักของวิชาการไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์

Janpha:

  • เราเป็นส่วนหนึ่ง

WCR:

  • เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ที่พร้อมที่จะรับรู้ความรู้จากนักวิชาการเพื่อนำความรู้ไปถ่ายทอดและนำไปใช้อีกครั้งหนึ่ง

Janpha:

  • อยากจะให้เพิ่มเติมนิดนึง ถ้า WCR มองว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของ Academic Community in Business admiration เนี่ย เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนวิชาการ การใช้ภาษาอังกฤษชุมชนวิชาการของเราตามที่เรารับรู้มีมากน้อยแค่ไหน และเราสามารถที่จะ เค้าเรียกว่า Function เค้าเรียกว่า ดำรงสถานะความเป็นสมาชิกชุมชนวิชาการเรา โดยที่มีภาษาอังกฤาเท่าที่มีอยู่เพียงพอหรือยังที่จะสื่อสารในชุมชนวิชาการต่างๆ หรือที่ยอมรับว่าเป้นสมาชิกส่วนหนึ่งก็คือเอาง่ายๆ อย่างคนที่เป็นนักฟุตบอล ถ้าอยากจะเป็นส่วนหนึ่งของนักเล่นฟุตบอลก็ต้องเตะฟุตบอลได้ วิ่งได้ ต้องมีสมรรถนะพอสมควร อย่างสมรรถนะภาษาอังกฤษของเราเนี่ยเพียงพอหรือยังที่จะเป็นสมาชิกของชุมชนนักวิชาการนี้ได้ ให้กำหนดตัวเอง

WCR

  • ถ้าประเมินตัวเองนะครับ ก็คือสมรรถนะของตัวเองตอนนี้คือ

(Side 2)

WCR:

  • แล้ว 400 คน ซึ่งข้อสอบที่ใช้ประเมิณกันในครั้งนี้คือ เอาภาษาอังกฤษมาวัดบุคคลที่จบปริญญาตรี 100 ข้อ ส่วนวิชาอื่นๆอย่างเช่น การค้าระหว่างประเทศ กฏหมายศุลกากร และคอมพิวเตอร์รวมกัน 100 ถ้าใครมาภาษาอังกฤษพื้นฐานดี คุณคือ

1 ในนั้นครับ ผมคิดว่า แล้วก็สามารถที่จะนำไปใช้ได้ด้วย และอย่างเช่นอีกองค์กรหนึ่งคือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งการสอบแต่ละครั้งเนี้ย Blank ทุกตำแหน่งเลย เนื่องจากไม่ผ่านภาษาอังกฤษ สอบ 3 ชุดวิชาคือ 1 ชุดวิชาความรู้ทั่วไป 2 คือเป็นพนักงานการตลาดอะนะครับ แล้วก็ 2 คือ ภาษาอังกฤษ ชุดที่ 3 คือหลัก Marketing ซึ่งเวลาไปขอดูคะแนนแล้วนะครับ เด็กที่จบ MBA Marketing จะเกือบ 100 เต็ม ก็คือพอทำได้ ความรู้ความสามารถก็พอกล้อมแกล้มแต่พอไปดูชุดที่ 2 ภาษาอังกฤษเนี่ยอะครับ ต่ำกว่ามาตราฐาน ก็คือน่าเสียดายตรงนี้นะครับผมว่า

Janpha:

  • คุณวัชระกำลังจะบอกว่าในชุมชนวิชาการของเราเนี่ย คาดหวังภาษาอังกฤษค่อนข้างสูง คาดหวังอย่างเสมอจริงว่าจะ คนที่จะเข้ามาเป็นนักวิชาการในชุมชน คาดหวังค่อนข้างสูง ดังนั้นทางสมาชิกก็ต้องพูดกันหนักเลย ต้องเล่นกันหนักเลย ก็คือจริงๆจังๆมีการแข่งขัน แต่ตอนนี้ก็ยังถือว่ากำลังเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนอยู่ แล้วก็ แต่ว่า การที่จะเป็นสมาชิกที่เค้าเรียกว่า Full membership เนี่ย ก็ต้องฝึกมากขึ้น

WCR:'

  • ก็คือจากที่ผ่านๆมาเปิดสอบแล้ว สอบอีก เสียงบประมาณประเทศนะครับผมว่าก็คือไม่ได้คนไปสักที โดยกว่าจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นตัววัดแล้ว คนไม่ผ่านเกณฑ์มาตราฐานทีเนี้ย

Janpha:

  • คิดว่ามันมากเกินไปหรือเปล่า

WCR:

  • มันไม่ได้เกินไปแต่ว่า

Janpha:

  • แต่ว่าที่เป็นนักวิชาการชุมชนนั้น มีไหมใครไหมที่ไม่เก่งภาษาอังกฤษหรือไม่

WCR:

  • แต่จริงๆแล้วผมว่าเอาคนที่ปานกลางไปดีกว่า แล้วไปฝึก ไปเพิ่มเติมในมิตินี้ได้ในทีหลัง หมายถึงให้เค้า คือ ไม่ให้เค้าต้องเก่งแบบเก่งเป็นเลิศ แต่ว่าคือสามารถที่จะนำไปใช้ได้ คือคัดเข้าไปก่อนครับแล้วค่อยไปให้ทึนเค้าพัฒนาทีหลัง ผมคิดว่าอย่างนั้น แต่ไม่หยุดการพัฒนา

Janpha:

  • NPW?

NPW:

  • I agree with WCR. สำหรับการที่อาจารย์ถามว่าเรามองตัวเองในระดับไหนกับกลุ่ม เรามองแบบว่าเรายังเป็น 1 ในชุมชนค่ะอาจารย์

Janpha:

  • Do you see yourself as an academic now?

NPW:

  • No, not at the present. But surely as one of them. ในชุมชนอยู่ เพราะว่าความรู้ความสามารถเนี่ยมันคือไม่ถึงระดับขั้นที่จะต้องเป็นกูรูทางด้าน marketing หรือดังกล่าวแล้วตามแต่ แต่การเรียน การรู้ พัฒนามันมีขึ้นมาอยู่เรื่อยๆค่ะ

Janpha:

  • เราเป็นส่วนหนึ่งในชุม่ชนวิชาการสาขา marketing แล้วเวลาเราจะมองว่าเราจะพร้อมเมื่อไรที่จะก้าวไปสู่ชุมชนวิชาการนั้น เราก็ถือว่าเราทำกิจกรรมอะไรให้นั้นบ้างใช่ไหม ถ้าเราจบแล้วเราจะเป็นได้ไหม

NPW

  • ก็น่าจะได้ค่ะ เพราะอย่างหนูบอกว่าการเรียรรู้มันมีพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ กูรูเบอร์ 1 อาจจะมีเบอร์ 2 เบอร์ 3 ตามมา

Janpha:

  • เรียกว่ารุ่น Heavy weight, Right fly weight รุ่นอะไรนะคุ่น Stall weight รุ่นๆคือมันมีหลายรุ่น ตั้งแต่รุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ เราก็ค่อยๆเข้าไปรุ่นเล็กก่อนใช่ไหม รุ่น Heavy weight อาจจะไม่ไหว

NPW:

  • เพราะว่าเรายังไม่มีความรู้ ความสามารถมากเท่ากับท่านเหล่านั้นอะค่ะ

Janpha:

  • แต่เราก็มี เรามองเห็นชุมชนใช่ไหม

NPW:

  • ใช่ค่ะ เรามองเห็นชุมชน มองเห็นคนที่เข้าใจพูดภาษาเดียวกันกับเราได้ สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ มีในเมืองไทยแน่ๆ

Janpha:

  • เรารู้เรามีตำแหน่งไหนแน่ๆ

NPW:

  • ใช่ค่ะ เราอยู่ตำแหน่งไหน ระดับไหน

Janpha:

  • เพราะคอนเซปชุมชนวิชาการและอัตลักษณ์เนี่ยเป็นคอนเซปที่ผมศึกษาอยู่ ก็คือมันเหมือนว่าไม่มีตัวตน แต่จริงๆมันมี ทุกคนอย่างที่เล่าให้ฟัง มันมีแล้วอยากถาม ข้างหลัง เปรมวดีเห็นชุมชนไหม เห็นตัวเราเป็นชุมชนหรือเปล่า

PWD:

  • ก็อย่างที่เข้าใจกัน ถ้าเราพูดภาษาเดียวกันก็เหมือนเป็นชุมชน ถ้าเราไม่รู้เรื่อง ถามมาตอบคนละคำถาม คำตอบที่เค้าถามมามันก็ไม่ใช่แล้ว ก็เหมือนกับว่าถ้าเรารู้ภาษาอังกฤษ ในปัจจุบัน อยากจะแนะนำมหาลัยเหมือนกันว่าจ่าจะเอาภาษาอังกฤษเข้ามาใช้ เฟพราะว่ามันมีความจำเป็น ณ ปัจจุบันนี้ค่ะ

Janpha:

  • PJN, how about you?

PJN:

  • if you ask whether I see myself...

Janpha:

  • as a memeber of the academioc community...

PJN:

  • As a member of the community...I see it ..ur yes.

Janpha:

  • Clearly?

PJN:

  • No, not at the moment, because I have not graduated yet.

Janpha:

  • อ๋อ มันมีส่วนใช่ไหม ถ้ายังไม่จบก็ยังไม่ชัด แล้วเท่าที่บอกว่าภาษาอังกฤษเราถึงแล้วน่ะ คิดว่าภาษาอังกฤษเราถึงชุมชนหรือยัง

PJN:

  • ก็เอาตัวรอดได้

Janpha:

  • เอาตัวรอดได้ใช่ไหมครับ เท่าที่ดูคนในชุมชนกันก็น่าจะอยู่ในตรงนั้น เพียงแต่ว่ายังไม่จบ

WCR:

  • เป็นตัวดังที่อยู่ในดาวดวงเด่น

Janpha:

  • How about you PWN? As you are walking into the communuty, what do you think they are see you?

PWN:

  • เค้าก็มองว่า เราสามารถจะสื่อสารภาษาอังกฤษตรงนั้นได้ เนื่องจากว่าจบ MBA มาแล้วเนี่ยน่าจะได้บ้างแล้วเราสามารถสื่อสารกับเค้าได้อย่างเนี้ยค่ะ มันก็จะมองว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนนั้นได้อะค่ะ

Janpha:

  • แต่ว่าการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน กับการเป็นสม่าชิกของชุม่ชน มันก็คล้ายๆกับเรา ก็เริ่มที่จะเริ่มรับรู้ว่าความเป็นสมาชิกของเราในชุมชนนั้นแต่เราก็รัง 50 - 50 บางครั้งไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็น จะเข้าไปมีบทบาทได้ยังไง

PWN:

  • มีบทบาทมากน้อยแค่ไหน

Janpha:

  • หลายๆท่านก็พูดถึงว่าถ้าจบแล้ว ก็อยู่ที่บทบาทเราว่า เราจะทำอะไรในชุมชนเราบ้าง มาถึงตรงนี้ก็ถ้าใครมีอะไรเพิ่มเติมก็เชิญเลยนะครับ ถ้าไม่มีทีนี้ผมก็คงจะไม่มีประเด็นอื่นเพิ่มเติม ก็คงพูดมาเกือบจะทั้งหมดแล้ว เรื่องของการใช้ภาษาอังกฤษในชุมชนวิชาการ แล้วก็ภาษาอังกฤษในระดับบัณฑิตศึกษา ความหมายของมัน แน่นอนครับคือสังคมไทย ก็ยังคาดหวังในความคิดให้นักศึกษาใช้ภาษาอังกฤษได้ อย่างน้อยที่คุณจบปริญญาโทMBA ไม่ว่าจะมหาลัยไหนในเมืองไทย แม้ว่าจะไม่ใช่โปรแกรมภาษาอังกฤษ หรือไม่ได้จบเมืองนอก ก็ต้องรู้ ทำไมต้องรู้ก็เพราะว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษาธุรกิจ ถึงไม่ได้เรียนจบปริญญาโท เรียนจบปริญญาตรี ก็คาดหวังไว้ว่าน่าจะรู้บ้าง
  • มีใครมีอะไรจะถาม อยากจะรู้อะไรไหม ว่าอัตลักษณ์มันเกี่ยวข้อง ในความคิดของอัตลักษณ์มีความสำคัญใจภาษาอังกฤษในระดับบัณฑิตศึกษา คงไม่ใช่ว่าไปนั่งเรียน หลายๆคนพูดถึงอยากจะให้มีถาษาอังกฤษเข้าไปในวิชาต่างๆ อยากจะให้ช่วยแนะนำ สำหรับผมมองว่า ให้อาจารย์ช่วยแนะนำว่าภาษาอังกฤษในระชุมชนใช้อะไรกันบ้าง อยากจะให้เรารู้ เราจะได้อยู่ในชุมชนเราได้ ว่าเค้ารู้ยังงี้นะ เราจะได้มองตัวเองถูก อย่างเช่น กลับไปที่คำถามเดิมอย่างที่ว่า What คืออะไร ถาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตคือ ก็คือภาษาอังกฤษเท่าที่สรุปได้ก็คือ เป็นเครื่องมือที่จะใช้ในการเรียนรู้ แล้วก็เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารกับสม่าชิกชุมชนวิชาการ หมายถึงอจารย์ กับเพื่อนที่เราเรียนด้วย ชุมชนวิชาชีพที่เราอยู่ในสาชานั้นๆ function ที่ทำให้เราสามารถดำรง เค้าเรียกว่ามีสถานะ รักษาสถานะการเป็นสมาชิกของชุมชนนั้นๆได้ ที่ไม่เป็นสมาชิก ซึ่งๆเราเวลาจะพูด ถึงอัตลักษณ์ตัวเองก็กล้าๆ กลัวๆ เพราะว่า ไม่ค่อยมั่นใจว่าจะได้รับการยอมรับหรือเปล่า ก็เราก็พูดว่า ภาษาอังกฤษควรจะรู้มากแค่ไหน น้อยแค่ไหน และหลายท่านก็พูถึงว่า ต้องรู้แน่ๆ แต่รู้มากน้อยขึ้นอยู่กับปัจเจทชนด้วยว่า ถ้าเค้าอาจจะไม่ได้ใช้ในที่ทำงาน หรือก็มีความจำเป็นบางทีในการทำงานไม่ได้ใช้ในที่ทำงาน แต่ชุมชนวิชาการหรือชุมชนเค้าอาจจะต้องใช้ ไม่งั้นก็ยังจำเป็นจะต้องรู้ แต่รู้มากน้อยแค่ไหนก็อีกเรื่องหนึ่ง ความสามารถทางภาษาอังกฤาเนี่ย ในความคิดผมมันคงไม่ใช่ความสามารถที่วัดโดยแบบทดสอบ
  • ผมคิดว่าความสามารถทางภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษาเป็นการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เป็นความสามารถในการรักษา ธำรงสถานะของการเป็นสมาชิกในชุมชนวิชาการของเราเองเอาไว้ และมีบทบาทที่จะสืบสาวถึงแม้ว่าคุณจะสอบผ่านอย่างที่หบายๆคนพูดว่า ภาษาอังกฤาเป็นคอร์สเบือ้งต้น ไม่ได้มีส่วนช่วยอะไรเลย มันไม่สามารถทำนายอะไรได้เท่าไหร่หรอก คือจบมาก็ผ่านวิชานั้นมาก็อ่าน text ไม่ได้อยู่ดี ก็ไม่ได้เป็นตัวการันตีแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าผมคิดว่าถึงแม้มีเพิ่มอีกตัวหนึ่งก็ยังไม่ใช่คำตอบ ดังนั้นคำตอบมันน่าจะเป็นความสามารถที่มองโดยภาพรวมตัวตนของเราซึ่งการศึกษาภาษาอังกฤษระดับนี้ ความคิดผมก็คือจะต้องใส่เค้าเรียกว่า แทรกเข้าไปในเนื้อหา แล้วมีกระบวนการเรียนการสอนซึ่งไปด้วยกัน แล้วนักศึกษาเองจะต้องรับรู้ถึงบทบาทของตัวเองด้วย เพราะผู้หใย่ ถ้าเรารู้ อย่างเช่นงานวิจัยของผมเนี่ยที่พอมีข้อมูลบ้างเนี่ย เดี๋ยวผมจะแชร์กับพวกเรา ทีนี้น่าสนใจนะเพราะผมไม่ได้มองที่ประเด็นนี้มาก่อน ที่ผมค้นพบ อยากจะให้เราทาบไว้เป็นข้อมูลถึงที่มาของการตั้งคำถามต่างๆอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับเรา สิ่งหนึ่งที่อยากจะชี้ที่ผมจะเล่าให้ฟังก็ตือผมวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษเนี่ย 3 ลักษณะก็คือ การใช้ภาษาอังกฤาในที่ทำงาน English for work place, English for Education ใช้ในการเรียนรู้และ Use of English within the community ในชุมชนงิชสกสนผใพลงาส 3 อย่างนี้มัน correlate กันที่ระดับสูง ส่วนใหญ่ ดังนั้นมันเป็นเรื่องเดียวกัน มันมีความสูงมากเลย สัมพันธ์ค่อนข้างสูง ค่อนข้างที่จะเยอะมีตัวเดียวที่เป็น 01.05 แต่ส่วนใหญ่อีก 2 ตัว เป็น 0.01 ทั้งนั้น อย่างที่ผมบอกไงว่า อย่างเข่น ใครนะที่ใช้ภาษาอังกฤษในที่ทำงานเยอะ ดังนั้นพอมาใช้ในการเรียนเราก็ใช้เยอะด้วย เรามีความสามารถ เราก็อ่านเยอะใช่ไหมครับ ดังนั้นมันก็เป็นเลเวลเดียวกัน ดังนั้นถ้าคนที่ไม่ได้ใช้ที่ทำงานแล้ว การเรียนก็อาจจะไม่ได้ใช้ ก็ใช้น้อยอย่าที่บอกมีปัญหาก็อ่านไม่ออก ก็ต้องถามเพื่อนแล้วก็ให้คนอื่นแปลให้อีกที ดังนั้นก็เกิดปัญหาขึ้นเป็นเรื่องเดียวกัน อีกอย่างหนึ่งที่ความสำคัญอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของอัตลักษณ์ อันนี้คือ certificate ระดับความแตกต่างที่เกิดขึ้น อันนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็น Finding ซึ่งผมไม่ได้คาดหวังไว้หรอก ก็คือการรับรู้ว่าตัวเอง Part of the type Academic Community เป็นส่วนของชุมชนวชิการ Yes or No ก็คือรับรู้ว่าคุณเป็น ไม่เป็น ปรากฎว่าการใช้ภาษาอังกฤษในชุมชนวิชากเป็นลักษณะที่แยกกันชัดเจน คนที่บอกว่าตัวเองน่ะเป็นสมาชิกของชุมชนวิชาการ มีเลเวลของการใช้ภาษาอังกฤษสูง สูงกว่าคนที่บอกว่าตัวเองไม่ใช่ ถ้าในที่นี้รับรู้ว่าตัวเองว่า เป็นส่วนหนึ่ง ถือว่าเป็นเรื่องดี บางคนรับรู้ว่าไม่ใช่นะ I am not part of the community นะ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการหรอก มาเรียนเฉยๆ เพราะฉะนั้นการใช้ภาษาอังกฤษจะแตกต่างกับอีกกลุ่มซึ่งเชือว่าตัวเองเป็น ดังนั้นบาบาทของอัตลักษณ์มีความสำตัญอย่างยิ่งอัตลักษณะมันจะกำหนดพฤติกรรม อย่างเช่น คนที่กำหนดอัตลักษณ์ตัวเองเนี้ย บางทีก็จะกำหนดพฤติกรรมการที่เราจะ function หรือมีบทบาทในสังคมด้วยคือถ้า I am not a ส่วนใหญ่ก็บอกว่าไม่ใช่ academic ไม่ใช้วิชาการก็ยังไม่เป็นก็แน่นอน ก็ถ้าบอกว่าเป็นนักวิชาการปุปก็ถือว่าเว่อร์ไป แต่ถ้าบอกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนวิชาการเป็นแล้วการใช้ภาษาอังกฤษก็จะเป็นไปตามลำดับนั้นๆ มันก็จะบ่งบอกว่า อัตลักษณ์มันมีความสำคัญ คนที่บอกว่าตัวเองไม่ใช่ก็ไม่ค่อยได้ใช้ภาษอังกฤษมากเท่ากับคนที่บอกว่าใช่ มันเป็นสิ่งที่น่าสนใจพอสมควรในเรื่องของอัตลักษณ์ว่า ถ้านักศึกษามองว่าตัวเองไม่ใช่นักวิชาการหรือไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของนักวิชาการ มองไม่เห็นชุมชนเนี่ย มันก็จะมีผลกับพฤติกรรมเราด้วย กับคนที่มีพฤติกรรมอีกแบบ ดังนั้นถ้ามองเห็นชุมชนบ้างผมก็จะพยายามชี้ให้เห็นถึงประเด็นนี้ว่า ไม่ใช่ว่าต้องเป็นนักเรียนหรือ บัณฑิตที่สอบผ่านนะมีมากกว่านั้น มันโยงถึงอัตลักษณ์ การเรียนแล้วก็การมองหลายๆด้าน แล้วถ้าเผื่อเรามองอัตลักษณ์ เรามองตัวเราเองเนี้ย อีกแบบหนึ่ง เราเป็นชุมชนวิชาการนะ เรารู้ว่าเค้าใช้อย่างนี้ รู้ว่าคนนั้นเก่งอย่างนั้น รู้ว่าคนนี้เก่งนี้ รู้ว่าภาษาอังกฤษใช้ได้อย่างนี้ ยังไงวิชาการเรา คุณก็เก่งภาษาอังกฤษ ยังไงก็สามารถที่จะทำไง function ได้แล้ว คุณก็จะรู้เค้าพูดกันอย่างนี้ ก็เออ รู้แค่นี้ แต่ถ้าคุณไม่เอาตรงนี้มาใส่ใจหรือคุณคิดว่าไม่รู้ ไม่มอง ไม่เห็นไม่ใช่ เราไม่ใช่พวกนี้หรอก จบไปแล้ว เราไปเปิดบริษัทของเราเอง เราก็อยู่ของเราเอง อันนี้มันก็จะเป็นอีกแบบหนึ่งนะ เค้าก็จะอยู่ มันก็จะมีข้อค้นพบก็ค่อนข้างเยอะ อย่างหนึ่งก็คือ oversea training การไปเรียนต่างประเทศ Yes หรือ No เนี่ยมันต่างกัน สำหรับเรียนรู้ว่าตัวเองเก่งภาษาอังกฤษหรือเปล่าไปอบรมต่างประเทศ ไปต่างประเทศพวกนี้จะรับรู้ว่าตัวเอง ภาษาอังกฤษมี 3 จุดเด่นๆ 2 จุดเด่น ซึ่งพวกเนี้ยไม่ใช่เป็นเรื่องแปลก ถ้าหากคุณจะไปเรียนต่างประเทศหรืออบรมต่างประเทศ ส่วนใหญ่พวกนี้จะถาษาอังกฤษดีอยู่แล้ว ถ้าไม่ดีก็บริษัทไม่ส่งไป เปรียบเทียบว่าเค้ามีมาตรการ ถ้าเค้าไม่เก่งภาษาอังกฤษเค้าก็ไม่อยากส่งไปใช่ไหม ก็เป็นเรื่องชัวร์ พวกที่ไม่ได้ไปอบรมต่างประเทศก็เป็นที่น่าคาดหวัง ภาษาอังกฤษ จะแตกต่างกับอีกกลุ่มหนึ่งอันนี้ผมศึกษาจากกลุ่มของพวกเรานะครับ MBA กับ DBA ตอนนี้ก็เป็นข้อค้นพบอย่างหนึ่ง ซึ่งน่าสนใจ ก็คือความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถการแก้ปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้นเอง กับความสามารถทางภาษาอังกฤษ หมายถึงถ้ารับรู้ว่าตัวเองเก่งภาษาอังกฤษก็จะรับรู้ว่าสามารถแก้ปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษได้ แต่ถ้ารับรู้ว่าตัวเองแก้ปัญหาไม่ได้ แก้ปัญหาไม่ได้มากเท่าไร ยิ่งมีมาเท่าไร ก็จะรับรู้ว่าตัวเองได้รับการสนับสนุน support อย่างไร ตรงนี้เช่นเดียวกัน series English community ถ้ารู้ว่าตัวเองเก่งภาษาอังกฤษน้อยก็อยาได้ support มากเป็นเรื่องของคำว่า support มันหมายถึงอะไรบ้าง ซึ่งทุกคนก็พูดมา ท้ายที่สุดนี้ก็จะคงจะขอบคุณทุกท่าน มีไรจะเสริมไหมครับ อยากพูดในประเด็นสุดท้าย อยากจะฝากอะไรไหมถึงงานวิจัย ประเด็นที่เราพูดถึง หวังว่าคงได้ประโยชน์นะ ขอขอบคุณที่มาให้ทำ focus ก็จะพูดถึงงานนิดๆน้อยไปหน่อย ถึงความสัมพันธ์ความหมายของมัน มันก็อย่างที่รู้ๆกันอยู่ว่ามีความจำเป็นอย่าง How much อันนี้ก็พูดยาก How much ต้องมีแน่ๆ แต่ How much เนี่ยก็สามารถที่จะอยู่ใน function ในชุมชนได้ แล้วก็รับรู้ว่าเราอยู่ในชุมชนไทยได้พอสมควร แล้วก็อยู่ประเมิณตนเองได้ว่า เราอยู่ในชุมชนได้ไหม เรารู้แค่นี้เป็นที่ยอมรับแล้วก็ถ้าเผื่อว่า ไม่ใช่เราสอบผ่านภาษาอังกฤษวิชานี้ได้สำหรับชุมชนอาจจะไม่มีความหาย สำหรับชุมชนอาจจะเฉยๆ ก็ขอบคุณทุกคน
  • Thank you very much everybody for sharing the ideas and experiences and discussion.